รู้จักการสอบ ก.พ. ภาค ข คืออะไร? มีตำแหน่งอะไรบ้าง?

รู้จักการสอบ ก.พ. ภาค ข คืออะไร? มีตำแหน่งอะไรบ้าง?

อาชีพ ‘ข้าราชการ’ เป็นอาชีพที่มีความมั่นคงอย่างมาก หลายๆคนจึงใฝ่ฝันที่จะทำงานเป็นข้าราชการ แต่การที่่จะสามารถเป็นข้าราชการได้นั้น เราจำเป็นจะต้องสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก เสียก่อน

ไม่เพียงแค่นั้นเมื่อสอบผ่าน ก.พ.ภาค ก ได้แล้วนั้น ด่านต่อไปคือการที่เราจะต้องสอบ ก.พ. ภาค ข อีกด้วย ซึ่งเป็นการวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักการสอบ ก.พ. ภาค ข กันว่าคืออะไร สมัครสอบอย่างไร และจะเตรียมตัวสำหรับการสอบอย่างไรได้บ้าง ไปดูกันเลย


สอบ ก.พ. ภาค ข

การสอบ ก.พ. ภาค ข เป็นการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ตามที่ส่วนราชการต่าง ๆ เปิดรับสมัคร อาจจะมีการสอบปฏิบัติ หรือ ทดสอบร่างกาย ก็ได้ โดยผู้จัดสอบก็คือ สำนักงาน ก.พ. ที่จัดการสอบ ก.พ. ภาค ก นั่นเอง


สอบ ก.พ. ภาค ข ก่อนสอบ ภาค ก ได้ไหม

การสอบ ก.พ. ภาค ข นั้นโดยทั่วไปจะต้องใช้หนังสือรับรองการสอบผ่าน ภาค ก. เสียก่อน เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการสมัครสอบ ก.พ. ภาค ข แต่จะมีข้าราชการบางตำแหน่งที่สามารถสมัครสอบ ภาค ข. โดยไม่ต้องผ่าน ภาค ก.

แต่ส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ หากต้องการเป็นข้าราชการจะต้องสอบ ก.พ. ภาค ก. เพื่อนำหนังสือรับรองมายื่นเป็นหลักฐานย้อนหลังใหม่


สอบ ก.พ. ภาค ข มีตำแหน่งอะไรบ้าง

สอบ ก.พ. ภาค ข คืออะไร

สอบ ก.พ. ภาค ข ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครบ่อยๆ มีหลากหลายตำแหน่งด้วยกัน ตัวอย่างเช่น นักรังสีการแพทย์, พยาบาลวิชาชีพ, เจ้าพนักงานธุรการ, นักวิชาการพัสดุ, นักวิเคราะห์งบประมาณ, นักวิทยาศาสตร์, นายช่างชลประทาน, นายช่างไฟฟ้า, นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด

หากสนใจตำแหน่งในกลุ่มงานนี้ก็จำเป็นที่จะต้องไปสอบ ก.พ. ภาค ข ให้สำเร็จ โดยสามาถเข้าไปดูการเปิดรับสมัครตำแหน่งข้าราชการต่างๆ ได้ที่ https://job.ocsc.go.th/


สอบ ก.พ. ภาค ข มีสอบอะไรบ้าง

สอบ ก.พ. ภาค ข นั้นเป็นการสอบเพื่อวัดความรู้เฉพาะตำแหน่งโดยวิชาที่สอบจะขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานที่จัดสอบ โดยคะแนนเต็มจะอยู่ที่ 200 คะแนน อาจมีทั้งการสอบในรูปแบบปรนัยและอัตนัย ในวันนี้จะยกตัวอย่างอาชีพที่มีการแข่งขันสูงที่หลายๆคนอาจสนใจมาให้รับชมกัน

สอบ ก.พ. ภาค ข มีอะไรบ้าง

1. นักวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างวิชาที่สอบ ได้แก่

– บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน

– การวิเคราะห์ วิจัยพืช ปุ๋ย วัสดุ และการปรับปรุงบำรุงดิน

– การตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัยสมบัติทางกายภาพและเคมี ที่เกี่ยวกับดิน

– ผลกระทบของสารเคมี และสารพิษตกค้างจากการทำเกษตรต่อสิ่งแวดล้อม

– ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ

2. นักวิเคราะห์งบประมาณ

ตัวอย่างวิชาที่สอบ ได้แก่

– ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การงบประมาณ และพระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑

– ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณ (การวางแผน จัดทำ อนุมัติ บริหาร และติดตามประเมินผล) และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑

3. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ตัวอย่างวิชาที่สอบ ได้แก่

– ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและการสื่อสารคอมพิวเตอร์(Network and Communication)

– ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมระบบงานในลักษณะ Web Application

– ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ ออกแบบ ฐานข้อมูล

– ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศและการจัดการ (Management information System)

– ความรู้เกี่ยวกับพระราขบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.๒๕๖๒ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒

4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ตัวอย่างวิชาที่สอบ ได้แก่

– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมพัฒนาชุมชน

– ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน

– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน

– ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น

– ความรู้เกี่ยวกับระบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

5. นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ตัวอย่างวิชาที่สอบ ได้แก่

– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมพัฒนาชุมชน

– ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน

– การเขียนแบบ ประมาณราคาก่อสร้าง การสำรวจ บริหารงานก่อสร้าง และความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับงานโยธา

– การตรวจและควบคุมการก่อสร้างอาคาร ถนน งานสาธารณูปโภค และการทดสอบวัสดุด้านวิศวกรรมโยธา


ขั้นตอนการสมัครสอบ ก.พ. ภาค ข

สอบ ก.พ. ภาค ข มีตําแหน่งอะไรบ้าง

หลังจากสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก สำเร็จ ให้ใช้หนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. ที่ได้รับจากสำนักงาน ก.พ. ไปเป็นหลักฐานในการสมัครสอบโดยมีขั้นตอนการสมัครสอบดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ http://job.ocsc.go.th เพื่อพิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ.
กดปุ่มสมัครสมาชิก กรอกข้อมูลส่วนตัว

2. เข้าสู่ระบบสมาชิก

3. เลือกพิมพ์หนังสือรับรองการสอบผ่านฯ

4. เมื่อมีหน่วยงานเปิดรับสมัคร สามารถนำหนังสือรับรองทั้งตัวจริงและสำเนา ไปยื่นพร้อมบัตรประชาชน ที่หน่วยงานที่เปิดรับสมัครนั้นๆ

5. เข้าสอบ ภาค ข. และภาค ค. ต่อไปตามลำดับ


แนะนำวิธีเตรียมตัวสอบ ก.พ. ภาค ข

1. เตรียมตัวสอบ ก.พ. ภาค ก

หลายๆคนคงสนใจงานด้านราชการ ขอแนะนำให้เริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือเกี่ยวกับ แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก เป็นลำดับแรก แต่ถ้าอ่านเองแล้วไม่เข้าใจขอแนะนำให้มองหาสถาบันติวสอบ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบ ก.พ.ภาค ก และภาค ข ต่อไป

2. เตรียมตัวสอบ ก.พ. ภาค ข

เมื่อสอบ ก.พ.ภาค ก สำเร็จแล้ว ด่านต่อไปที่จะต้องเจอคือการสอบ ก.พ. ภาค ข ที่เป็นการสอบวัดเฉพาะตำแหน่งงานนั้นๆ

3. ติดตามข่าวสารการรับสมัครตำแหน่งต่างๆ

ในระหว่างที่เตรียมตัวสอบ สิ่งสำคัญเลยคืออย่าลืมที่จะติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานที่ตนเองสนใจเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสสำคัญ


ข้อสรุป

การที่เราจะสอบ ก.พ. ภาค ข ได้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องสอบผ่าน ภาค ก ให้ได้เสียก่อน ดังนั้นควรที่จะเตรียมตัวอ่านหนังสือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ถ้าหากว่าหลายๆคนไม่มีความมั่นใจในการอ่านหนังสือเอง หรือ อ่านหนังสือเองแล้วไม่เข้าใจ จับจุดไม่ได้

เราขอแนะนำให้ ติวสอบ ก.พ. ภาค ก ออนไลน์ กับ Guru Academy ที่มีเนื้อหาทุกวิชาที่ใช้สอบ และยังรวบรวมเคล็ดลับในการทำโจทย์ต่างๆ เรียกได้ว่าจบครบในคอร์สเดียว และสุดท้ายเราเชื่อว่าถ้าหากคุณมีความตั้งใจมากพอ ก็สามารถสอบผ่าน ภาค ก ได้อย่างง่ายดาย และสอบผ่านภาค ข ได้สำเร็จตามความฝันที่จะรับราชการ

มิถุนายน 24, 2022
© 2021 Gurupoliceacademy.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าดูคอร์สเรียน