พ.ร.บ. คืออะไร มีอะไรบ้าง

พ.ร.บ. คืออะไร มีอะไรบ้าง

พ.ร.บ. ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติ” พระราชบัญญัติ หรือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา โดยเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ

โดยก็มีหลายแขนงครับ ไม่ว่าจะเป็น

  • พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย
  • พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
  • พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ หรือ
  • พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

สำหรับบทนี้ พี่บัสจะขออธิบาย พ.ร.บ. ที่มีความเกี่ยวข้องกับแนวข้อสอบสำหรับน้องที่อยากเป็นตำรวจ หรือเตรียมตัวสอบนายสิบตำรวจกันครับ

พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แบ่งออกเป็นส่วนและหมวดหมู่ดังนี้

ส่วนที่ 1 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
หมวด 1 การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
หมวด 2 การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
หมวด 3 การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
หมวด 4 การจัดระเบียบราชการในกรม
หมวด 5 การปฏิบัติราชการแทน
หมวด 6 การรักษาราชการแทน
หมวด 7 การบริหารราชการในต่างประเทศ
ส่วนที่ 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
หมวด 1 จังหวัด
หมวด 2 อำเภอ
ส่วนที่ 3 การจัดระเบียบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
บทเฉพาะกาล

โดยพระราชบัญบริหารราชการแผ่นดินนั้น มีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

  • ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 ว่าด้วยเรื่องจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
  • ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2536 ว่าด้วยเรื่องกำหนดเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นผู้บังคับบัญชาข้ารายการในสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
  • ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2543 ว่าด้วยเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม ที่ไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545 ว่าด้วยเรื่องการปรับปรุงระบบบริหารราชการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2546 ว่าด้วยเรื่องการโอนกรมตำรวจไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกำหนดให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธร
  • ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550 ว่าด้วยเรื่องปรับปรุงระบบการบริหารราชการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553 บัญญัติให้องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินการอื่นๆ โดยมีอัยการสงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา  อ่านทั้งหมดที่นี่

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้าถึงเป็นแนวกว้างทำให้เนื้อหา การใช้งานบางอย่างได้ถูกละเมิดหรือมิจฉาชีพเข้ามาใช้ช่องโหว่วทางกฎหมายในการหลอกลวงประชาชน กลุ่มคนสร้างความปั่นป่วน ส่งผลให้เกิดความไม่สงบแก่ประเทศได้ ดังนั้น จึงได้มีพระราชบัญญัติ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ประกาศให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีไว้เพื่อควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

  • ฝากร้านในสื่อโซเชียมีเดียต่างๆ sms และ email โดยเจ้าของผู้สร้างสื่อนั้นไม่อนุญาติ ให้ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  • กด Like เรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เข้าข่ายความผิดมาตรา 112
  • กด Share ข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หรือบุคคลที่ 3 มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
  • มีข้อมูลผิดกฎหมายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ (ผู้เก็บข้อมูลไม่ได้สร้างขึ้นเอง) ให้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อทำการแจ้งลบเพื่อป้องกันโทษทางกฎหมาย
    แอดมินผู้ดูแลเพจที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น หากทำการลบก็ถือว่าไม่มีความผิด
  • ห้ามมิให้โพสต์สื่อลามกอนาจาร
  • หลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อมูล ข้อความ ภาพ เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน เว้นเสียแต่ ปิดบังใบหน้า กรณีชื่นชนอย่างให้เกียรติ
    ให้ข้อมูลผู้เสียชีวิต โดยก่อความเสื่อมเสียแก่ผู้ตาย สร้างความเกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องเอาความผิดได้ตามกฎหมาย
  • โพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จ ต่อว่า ด่าทอ ตัดต่อ ให้เกิดความเสียหาย มีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • ห้ามมิให้ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งข้อความ เพลง ภาพและวิดีโอ

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับเต็ม


หากสนใจคอร์สติวหวังผล

ติวสอบตำรวจคอร์สติวหวังผลปี 2564 คลิก !!!

แจ้งรับข่าวการสอบนายสิบตำรวจก่อนใคร คลิก!!!

 

© 2021 Gurupoliceacademy.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าดูคอร์สเรียน