ลำดับยศของตำรวจ

บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินประชาชนเรียกตำรวจ ว่า “ตำรวจ” จึงทำให้ยังมีอีกหลายคนเข้าใจว่า นายตำรวจนั้นมีเพียงตำรวจชั้นผู้ใหญ่และชั้นผู้น้อย ซึ่งหากเป็นน้องๆ ที่อยากเป็นตำรวจ สอบตำรวจแล้วสิ่งหนึ่งที่น้องๆ จะต้องรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลำดับยศของตำรวจนั้นอย่างถ่องแท้ ซึ่งวันนี้พี่จะแนะนำหลักสูตรนายสิบตำรวจเบื้องต้น ให้น้องๆ ได้รู้จักและเข้าใจลำดับยศของตำรวจกันครับ

ข้าราชการตำรวจจะได้รับการบรรจุแต่งตั้ง กำหนดยศ ตำแหน่ง เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินพิเศษ ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ข้าราชการตำรวจจำเป็นต้องมีวินัย ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพของการดูแลตามหน้าที่และช่วยเหลือประชาชนเป็นหลักสำคัญ โดยหน้าที่ของข้าราชการตำรวจนั้น จะได้แก่ส่วนงานร้องทุกข์ อุทธรณ์ บรรเทาทุกข์สุขของประชาชน ดูแลความเรียบร้อย ให้อยู่ในกฎของระเบียบสังคมดั่งที่ได้มีกฎหมายครอบคลุมไว้

นอกจากนี้ยังต้องดูและจัดระเบียบงานราชการ บริหารงานบุคคล กองทุนต่างๆ ดูแลการสืบสวน สอบสวนคดีความภายใต้กระบวนการยุติธรรม อยากเป็นตำรวจยิ่งจำเป็นต้องควรรู้สิ่งเหล่านี้ แน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้นั้นมักจะอยู่ในข้อสอบการสอบตำรวจ ซึ่งทางพี่ได้รวบรวมเป็นหลักสูตรนายสิบตำรวจ สรุปเข้มข้นสำหรับน้องๆ ที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นตำรวจ สอบนายสิบตำรวจนั่นเอง

อำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ

1. รักษาความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯลฯ
2. ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตามประมวลกฎหมาย
3. ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
4. รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่ประชาชน
5. รักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร
6. ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศ
7. ปฏิบัติการใดอื่น ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เดิมเราอาจคุ้นหูและยังได้ยินกันบ่อยครั้งในชื่อ “กรมตำรวจ” ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อไปแล้วตั้งแต่ปี 2541 ที่ผ่านมาครับ และนอกจากชื่อที่เปลี่ยนไป การปกครองก็ถูกปรับเปลี่ยนเช่นเดียว ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้นก็อยู่ภายใต้การดูแลปกครองโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นหัวหน้าหน่วยงานราชการนั่นเอง

ตำแหน่งกรมตำรวจ

ข้าราชการตำรวจ มี 14 ยศ 13 ตำแหน่ง ดังนี้

ชั้นสัญญาบัตร
1. พลตำรวจเอก หรือ พล.ต.อ. (Police General)
2. พลตำรวจโท หรือ พล.ต.ท. (Police Lieutenant General)
3. พลตำรวจตรี หรือ พล.ต.ต. (Police Major General)
4. พันตำรวจเอก หรือ พ.ต.อ (Police Colonel)
5. พันตำรวจโท หรือ พ.ต.ท. (Police Lieutenant Colonel)
6. พันตำรวจตรี หรือ พ.ต.ต. (Police Major)
7. ร้อยตำรวจเอก หรือ ร.ต.อ. (Police Captain)
8. ร้อยตำรวจโท หรือ ร.ต.ท. (Police Lieutenat)
9. ร้อยตำรวจตรี หรือ ร.ต.ต. (Police Sub-Lieutenant)

ชั้นประทวน
10. ดาบตำรวจ หรือ ด.ต. (Police Senior Sergeant Major)
11. จ่าสิบตำรวจ หรือ จ.ส.ต. (Police Sergeant Major)
12. สิบตำรวจเอก หรือ ส.ต.อ. (Police Sergeant)
13. สิบตำรวจโท หรือ ส.ต.ท. (Police Corporal)
14. สิบตำรวจตรี หรือ ส.ต.ต. (Police Lance Corporal)

ตราลำดับยศตำรวจ

แต่ละตำแหน่งจะมีสัญลักษณ์ (ดาว) ประดับยศให้สังเกตโดยง่าย โดยจะติดอยู่กับเครื่องแบบในทุกวันและต้องติดทุกครั้งเมื่อสวมใส่ชุดเครื่องแบบตำรวจนั่นเอง แม้ว่ายศ ลำดับขั้นของตำรวจนั้นจะมี 14 ยศ แต่

ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ มีเพียง 13 ตำแหน่ง ดังนี้

1. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
2. จเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)
3. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.)
4. ผู้บัญชาการ (ผบช.)
5. รองผู้บัญชาการ
6. ผู้บังคับการและพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
7. รองผู้บังคับการและพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
8. ผู้กำกับการและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
9. รองผู้กำกับการและพนักงานสอบสวนผู้ชาญการพิเศษ
10. สารวัตรและพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ
11. รองสารวัตรและพนักงานสอบสวน
12. ผู้บังคับหมู่
13. รองผู้บังคับหมู่

ในแต่ละตำแหน่งนั้นจะถูกบรรจุและแต่งตั้งให้ดูแลในส่วนงานต่างๆ อันมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่างกันออกไปในแต่ละสังกัดหน่วยงาน

โครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะแบ่งหน่วยงานออกเป็น 2 ประเภท เพื่อให้ข้าราชการตำรวจได้เข้าทำงานแต่ละสังกัด
1. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะประกอบได้ด้วย 8 กองบัญชาการและ 6 กองบังคับการ
2. กองบัญชาการ จะประกอบไปด้วย 22 กองบัญชาการ

เรื่องของโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น บทความหน้าพี่จะนำมาเล่าให้ฟังครับ


หากสนใจคอร์สติวหวังผล

ติวสอบตำรวจคอร์สติวหวังผลปี 2564 คลิก !!!

แจ้งรับข่าวการสอบนายสิบตำรวจก่อนใคร คลิก!!!

 

© 2021 Gurupoliceacademy.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าดูคอร์สเรียน