ข้าราชการตำรวจกับข้าราชการทหาร เหมือนหรือต่างกันยังไง
ก่อนจะรู้ว่า ข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร พี่บัสอยากให้น้องๆ ได้รู้จัก “ข้าราชการ” ก่อนว่า มีกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง
ข้าราชการมีอยู่ด้วยกัน 14 ประเภท ได้แก่
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
- ข้าราชการฝ่ายอัยการ
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
- ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
- ข้าราชการรัฐสภาข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
- ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้าราชการทหาร
- ข้าราชการตำรวจ
- ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
- ข้าราชการตรวจเงินแผ่นดิน
- ข้าราชการการเมือง
โดยหลักแล้วพี่บัสขอหยิบยกมาอธิบายในส่วนประเภทที่ 10 และ 11 นั่นก็คือ ข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจนั่นเอง
ข้าราชการทหาร
หมายถึง บุคคลที่ได้รับเข้าประจำการปฏิบัติหน้าที่เป็นทหารประจำการ ข้าราชการกลาโหม รวมทั้งพลเรือนที่บรรจุในอัตราทหารในแต่ละหน่วยงาน สังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทย หมายความว่า บุคคลใดก็ตามที่ได้ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีการสอบ การสมัครใจสมัครเป็นทหารโดยจับใบดำ ใบแดง และได้รับยศ โดยต้องยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่ 3 ข้อหลักดังนี้ครับ
- ดูแลปราบปรามกบฎ จลาจล ใช้กำลังทหารตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายกำหนด
- พิทักษ์รักษา ปกป้องสถาบันกษัตริย์ สนับสนุนภารกิจของพระมหากษัตริย์
- ปฏิบัติการอื่น นอกเหนือจากสงคราม เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของราชอาณาจักร
ข้าราชการทหารจะแบ่งเป็น
ข้าราชการทหาร ที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้ง มีการแบ่งลำดับชั้น ลำดับยศ ทั้งชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร สังกัดกระทรวงกลาโหม โดยมีสังกัด 3 เหล่าทัพ ดังนี้
- กองทัพเรือ
- กองทัพอากาศ
- กองทัพบก
ลำดับยศนายทหารชั้นประทวน
ป.1 : C1
- นายสิบ ทหารบก
- จ่า ทหารเรือ, ทหารอากาศ
ป.2 : C2
- จ่า ทหารบก
- พันจ่า ทหารเรือ, ทหารอากาศ
ป.3:
- จ่าสิบเอก
- พันจ่าเอก
- พันจ่าอากาศเอก
ลำดับยศนายทหารชั้นสัญญาบัตร
น.1 : C3-C5
- ทหารบก : ร้อยตรี ร้อยเอก
- ทหารเรือ : เรือตรี เรือเอก
- ทหารอากาศ : เรืออากาศตรี เรืออากาศเอก
น.2 : C6
- ทหารบก : พันตรี
- ทหารเรือ : นาวาตรี
- ทหารอากาศ : นาวาอากาศตรี
น.3 : C7
- ทหารบก : พันโท
- ทหารเรือ : นาวาโท
- ทหารอากาศ : นาวาอากาศโท
น.4 C8
- ทหารบก : พันเอก
- ทหารเรือ : นาวาเอก
- ทหารอากาศ : นาวาอากาศเอก
น.5 : C9 อำนวยการสูง
- ทหารบก : พันเอก (พิเศษ)
- ทหารเรือ : นาวาเอก (พิเศษ)
- ทหารอากาศ : นาวาอากาศเอก (พิเศษ)
น.6 : C9 อำนวยการสูง-บริหารต้น)
- ทหารบก : พลตรี
- ทหารเรือ พลเรือตรี
- ทหารอากาศ : พลอากาศตรี
น.7 : บริหารสูง
- ทหารบก : พลโท
- ทหารเรือ พลเรือโท
- ทหารอากาศ : พลอากาศโท
น.8 บริหารสูง
- ทหารบก : พลเอก
- ทหารเรือ พลเรือเอก
- ทหารอากาศ : พลอากาศเอก
น.9 บริหารสูง
- ทหารบก : พลเอก (พิเศษ)
- ทหารเรือ พลเรือเอก (พิเศษ)
- ทหารอากาศ : พลอากาศเอก (พิเศษ)
ข้าราชการกลาโหมพลเรือน หรือข้าราชที่ได้รับการบรรจุ ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงกลาโหมโดยไม่มียศ
ข้าราชการตำรวจ
หมายถึง บุคคลหรือข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้ง โดยผ่านการคัดเลือกให้ปฎิบัติหน้าที่ภายใต้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
- ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ลำดับยศของข้าราชการตำรวจ
- พ.1 พลตำรวจ
- ป.1 สิบตำรวจตรี สิบตำรวจเอก
- ป.2 จ่าสิบตำรวจ
- ป.3 ดาบตำรวจ
- ส.1 ร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจเอก
- ส.2 พันตำรวจตรี
- ส.3 พันตำรวจโท
- ส.4 พันตำรวจเอก
- ส.5 พันตำรวจเอก (พิเศษ)
- ส.6 พลตำรวจตรี
- ส.7 พลตำรวจโท
- ส.8 พลตำรวจเอก
- ส.9 พลตำรวจเอก (ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)
ธงหมายยศ ตามระดับยศของข้าราชการตำรวจและข้าราชทหาร
การที่เรารู้ข้อแตกต่างนั้นจะช่วยให้เราเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตำรวจได้ดีมากยิ่งขึ้นครับ น้องที่อยากเป็นตำรวจ อยากสอบนายสิบตำรวจ ต้องหมั่นทบทวนและทำความเข้าใจอย่างท่องแท้ อีกหนึ่งเคล็ดลับของการทำข้อสอบให้ได้ ไม่ได้มีเพียงแค่สรุปข้อสอบ การลงเรียนหลักสูตรนายสิบเพียงอย่างเดียว น้องต้องเข้าใจอย่างถึงแก่นด้วยครับ จะช่วยทำข้อสอบได้ง่าย แม่นยำและรวดเร็วได้ยิ่งขึ้น
สำหรับน้องคนไหนสนใจหลักสูตรสอบตำรวจออนไลน์ ที่พี่บัสได้จัดทำขึ้นมาให้น้องทบทวนได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถลงทะเบียน หรือสอบถามข้อมูลได้ทุกช่องทางด้านล่างนี้ พี่บัสเป็นกำลังใจให้น้องทุกคนได้สอบผ่าน ได้ทำตามความฝันเส้นทางการเป็นตำรวจให้ได้ทุกคนครับผม
หากสนใจคอร์สติวหวังผล
ติวสอบตำรวจคอร์สติวหวังผลปี 2564 คลิก !!!